โครงการโรงเรียนเพียงหลวง

ความเป็นมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้น้อมนำพระดำริของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่พระองค์ทรงห่วงใยต่อ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก พื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก การติดต่อประสานงานในพื้นที่ระหว่างอำเภอและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลให้เด็กขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนและอุปกรณ์เสริมทักษะในการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงวัยให้มีพัฒนาการอย่างเหมาะสม ตลอดจน ขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอน ไม่เพียงพอกับอัตราส่วนต่อเด็กในโรงเรียน ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ ไม่เหมาะสมกับวัย

     พระองค์ทรงมีพระดำริให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว ตามโครงการ “โรงเรียน เพียงหลวง” เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆของเด็กให้เหมาะสมกับวัย สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย รวมถึงให้ครอบครัวและชุมชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมาย ๑๘ จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ตามแผนที่ประเทศไทย ดังนี้

    • ภาคเหนือ ๔ จังหวัด : จังหวัดเชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๘ จังหวัด : จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครพนม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ หนองคาย เลย
    • ภาคกลาง ๓ จังหวัด : จังหวัดกาญจนบุรี ตราด สระแก้ว
    • ภาคใต้ ๓ จังหวัด : จังหวัดสตูล ชุมพร ระนอง


  • โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
    • ๑. เป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
    • ๒. อยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดนในถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก
    • ๓. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีรายได้น้อย หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาแก่บุตรหลานได้อย่างเพียงพอ
    • ๔. ขาดแคลนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน และ สันทนาการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
    • ๕. มีความพร้อมและยอมรับข้อเสนอในการเข้าร่วมโรงการโรงเรียนเพียงหลวง
    • ๖. เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ ๑ - ๑๒๐ คน หรือ โรงเรียนขนาดกลางมีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ ๑๒๑ – ๔๙๙ คน ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
    • ๗. อยู่ในพื้นที่เสี่ยงในเรื่องของยาเสพติด การถูกล่อลวง และการค้ามนุษย์
    • ๘. ได้รับมติจากเครือข่ายในพื้นที่ว่ามีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ

     ซึ่งโครงการโรงเรียนเพียงหลวง ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นต้นมา โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงภาคีเครือข่าย และหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การปกครองปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


ลำดับที่โรงเรียนตำบลอำเภอจังหวัด
โรงเรียนเพียงหลวง ๑ฯ (บ้านท่าตอน)ท่าตอนแม่อายเชียงใหม่
โรงเรียนเพียงหลวง ๒ฯสายตะกูบ้านกรวดบุรีรัมย์
โรงเรียนเพียงหลวง ๓ฯ (เหมืองแร่อีต่อง)ปิล๊อกทองผาภูมิกาญจนบุรี
โรงเรียนเพียงหลวง ๔ฯแหลมสนละงูสตูล
โรงเรียนเพียงหลวง ๕ฯพะโต๊ะพะโต๊ะชุมพร
โรงเรียนเพียงหลวง ๖ฯนนทรีย์บ่อไร่ตราด
โรงเรียนเพียงหลวง ๗ฯงอบทุ่งช้างน่าน
โรงเรียนเพียงหลวง ๘ฯกาบเชิงกาบเชิงสุรินทร์
โรงเรียนเพียงหลวง ๙ฯชานุมานชานุมานอำนาจเจริญ
๑๐โรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ฯหนองซนนาทมนครพนม
๑๑โรงเรียนเพียงหลวง ๑๑ฯ (บ้านสล่าเจียงตอง)เสาหินแม่สะเรียงแม่ฮ่องสอน
๑๒โรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ฯห้วยไผ่โขงเจียมอุบลราชธานี
๑๓โรงเรียนเพียงหลวง ๑๓ฯ (ประชาบำรุง)วังหลวงเฝ้าไร่หนองคาย
๑๔โรงเรียนเพียงหลวง ๑๔ฯห้วยตามอญภูสิงห์ศรีสะเกษ
๑๕โรงเรียนเพียงหลวง ๑๕ฯ (บ้านรังแตน)จ.ป.ร.กระบุรีระนอง
๑๖โรงเรียนเพียงหลวง ๑๖ฯ ตับเต่าเทิงเชียงราย
๑๗โรงเรียนเพียงหลวง ๑๗ฯ (บ้านแสง์)ทับเสด็จตาพะยาสระแก้ว
๑๘โรงเรียนเพียงหลวง ๑๘ฯ (บ้านนาจาน)ปากตมเชียงคานเลย

วิสัยทัศน์ 

    เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ประสานภาคีเครือข่าย พัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

    จัดระบบการศึกษาที่หลากหลายให้ได้มาตรฐาน ประสานภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เอกลักษณ์

    ศูนย์การเรียนรู้ เชิดชูเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมเพียงภาคีเครือข่าย

อัตลักษณ์

    โรงเรียนเพียงหลวง มารยาทดี มีจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม

สีประจำโรงเรียน 

    แดง - ขาว  :  หมายถึง มีความรู้คู่คุณธรรม มีความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

โดยขับเคลื่อนโครงการตามแผนการดำเนินโครงการโรงเรียนเพียงหลวง ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษา  :

                       มาตรการที่ 1 การพัฒนาบุคลากร
                       มาตรการที่ 2 การพัฒนาผู้เรียน
                       มาตรการที่ 3 การพัฒนาด้านการบริหาร
                       มาตรการที่ 4 การเสริมสร้างอัตลักษณ์
                       มาตรการที่ 5 พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์

                       มาตรการที่ 6 การติดตามประเมินผล

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ :

                       มาตรการที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้
                       มาตรการที่ 2 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
                       มาตรการที่ 3 การติดตามประเมินผล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  :

                       มาตรการที่ 1 สร้างองค์ความรู้และความ ตระหนักเศรษฐกิจพอเพียง
                       มาตรการที่ 2 ส่งเสริมการนำความรู้สู่การปฏิบัติ
                       มาตรการที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นองค์รวม ครอบครัว ชุมชนพึ่งพาตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้าง/พัฒนาภาคีเครือข่าย :

                       มาตรการที่ 1 การจัดตั้งองค์กรเครือข่ายเพื่อการพัฒนา
                       มาตรการที่ 2 พัฒนาศักยภาพและขยายเครือข่ายความร่วมมือ
                       มาตรการที่ 3 ประสานและขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนา



     เป้าประสงค์ :
เด็กและครอบครัวเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพื้นฐานและพัฒนาศักยภาพอย่างรอบด้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มีภาคีเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร ในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่องสร้างพลังแห่งการให้และแบ่งปัน